การทะเบียน (สูติบัตร มรณบัตร ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า)

การทะเบียน (สูติบัตร มรณบัตร ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า)

วันที่นำเข้าข้อมูล 9 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 46,668 view
ขั้นตอนการทำสูติบัตรไทย(ใบเกิด)
 
บุตรที่เกิดในมาเลเซีย และมีบิดาหรือมารดาเป็นคนสัญชาติไทย สามารถยื่นคำร้องขอสูติบัตรไทยโดยมีขั้นและรายละเอียดดังนี้
 
1.นําสูติบัตรที่ได้จากสํานักทะเบียนมาเลเซีย (JPN) (และคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ หากสูติบัตรนั้นมีเนื้อหาเป็นภาษาอื่น) ไปประทับตราสําเนาถูกต้อง (และรับรองคำแปล) ที่ฝ่ายกงสุล กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย (WISMA PUTRA) ที่ศูนย์ราชการใหม่ เมืองปุตราจายา
 
2.เอกสารที่ต้องนํามาในวันยื่นคําร้อง
1) ใบสูติบัตรมาเลเซียฉบับจริง
2) สําเนาใบสูติบัตรมาเลเซีย (และคำแปล) ที่ได้รับการประทับตราสําเนาถูกต้อง (และรับรองคำแปล) จากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย
3) สําเนาบัตรประชาชนของบิดาและมารดา
4) สําเนาหนังสือเดินทางของบิดาและมารดา
5) สําเนาทะเบียนบ้านของบิดาและมารดาที่มีสัญชาติไทย
6) สําเนาทะเบียนสมรสไทยหรือมาเลเซียของบิดาและมารดา
7) รูปถ่ายเด็ก 2 รูป ที่เห็นใบหน้าชัดเจน ไม่จำเป็นต้องถ่ายที่สตูดิโอถ่ายภาพ
8) นัดหมายเข้ารับบริการที่ https://lny.io/RTEKL
 
Application procedure for Thai Birth Certificate for the children whose either the father or mother is Thai
 
1. Applicant is required to certify true copy of Malaysian birth certificate (which is issued by JPN) (and require to certify its English translation if the contents of the Birth Certificate is not already in English) at consular section, Ministry of Foreign Affair of Malaysia (WISMA PUTRA) in Putrajaya. 
 
2. List of the documents required:
1) An original Malaysian birth certificate (and its English translation, if applicable)
2) A copy of Malaysian birth certificate, certified true copy of by Ministry of Foreign Affair of Malaysia (WISMA PUTRA).
3) Copies of parents’ identity cards
4) Copies of parents’ passports
5) A copy of parent's Thai house registration.
6) A copy of parents’ marriage certificate.
7) 2 passport size photos of the child
 
 

การจดทะเบียนสมรส

หลักเกณฑ์

1.) คู่สมรสจะต้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสด้วยตนเอง ณ สถานเอกอัครราชทูตฯ

2.) คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย

3.) หากคู่สมรสมิได้มีสัญชาติไทย จะต้องมีหนังสือรับรองความเป็นโสด แปลเป็นภาษาไทย/อังกฤษ พร้อมประทับตรา

4.) หากอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ บิดาและมารดาจะต้องลงชื่อให้ความยินยอม

5.) หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือทั้งสองฝ่ายเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน ฝ่ายที่เคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน จะต้องมีใบสำคัญการหย่ามาแสดง

7.) หากฝ่ายหญิงเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน (จะต้องหย่ากับคู่สมรสเดิมแล้ว)

ชื่อสกุลในหนังสือเดินทางและทะเบียนราษฎรต้องเปลี่ยนชื่อสกุลเดิมก่อนสมรส ก่อนที่จะยื่นคำร้องขอจดทะเบียนใหม่ จะทำการสมรสใหม่ได้ (ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน) เว้นแต่ได้คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น หรือ จะสมรสกับคู่สมรสเดิม หรือ มีใบรับรองแพทย์รับรองว่ามิได้มีครรภ์ หรือ มีคำสั่งศาลไทยให้สมรสได้

 

**เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการจดทะเบียนสมรส

1.บัตรประจำบัตรตัวประชาชนและหนังสือเดินทางของคู่สมรส

2.หนังสือรับรองสภาพการสมรส (ใบรับรองโสด)

3.สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้ที่มีสัญชาติไทย)

4.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/หนังสือเดินทาง พยาน 2 คน

5. นัดหมายเข้ารับบริการที่ https://lny.io/RTEKL เพื่อนำสำเนาเอกสารทั้งหมดมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและจัดพิมพ์เอกสารการจดทะเบียนสมรสล่วงหน้า (อย่างน้อย 5 วันทำการ) และรอการยืนยันวันนัดหมายจากเจ้าหน้าที่ เพื่อจดทะเบียนสมรสต่อหน้านายทะเบียน พร้อมพยาน และรับเอกสารทะเบียนสมรส