วันที่นำเข้าข้อมูล 26 ม.ค. 2565
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 25 ต.ค. 2567
ข้อมูลสำหรับคนไทย กรณีมีเหตุการณ์ไม่ปกติในมาเลเซีย
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ข้อมูลและคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับคนไทยในมาเลเซีย ในกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินในมาเลเซีย เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความไม่สงบทางการเมือง โรคระบาด เป็นต้น
1. ข้อมูลติดต่อฉุกเฉิน
1.1 สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
1.2 หน่วยงานท้องถิ่นในมาเลเซีย:
สายด่วนฉุกเฉิน (MERS): 999 เบอร์ร่วมสำหรับหน่วยงานของมาเลเซีย ได้แก่
2. คำแนะนำทั่วไปด้านความปลอดภัย
2.1 รักษาเอกสารสำคัญประจำตัว เช่น หนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวประชาชนไทย เป็นต้น
2.2 เพิ่มความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมที่มีความเสี่ยงในช่วงสถานการณ์ไม่แน่นอน และผันผวน
2.3 ติดตามข่าวสารท้องถิ่น ประกาศจากหน่วยงานราชการของมาเลเซีย และประกาศจากสถานเอกอัครราชทูตฯ
3. คำแนะนำในการปฏิบัติตนกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ
3.1 การประเมินสถานการณ์
3.2 การสื่อสารและติดตามสถานการณ์
3.3 การเตรียมชุดอุปกรณ์พื้นฐาน
ขอแนะนำให้จัดเตรียมสิ่งของที่จำเป็น สะดวกต่อการพกพา เช่น
3.4 การขอรับความช่วยเหลือจากสถานเอกอัครราชทูตฯ
* สำหรับคนไทยในรัฐซาราวักและรัฐซาบาห์ อาจพิจารณาเดินทางออกจากมาเลเซียไปยังบรูไนได้
3.5 ขั้นตอนการเคลื่อนย้าย/อพยพ
สถานเอกอัครราชทูตฯ จะประกาศคำแนะนำทางเว็บไซต์และสื่อออนไลน์ของสถานเอกอัครราชทูตฯ ทั้งนี้ จำแนกสถานการณ์ฉุกเฉินในมาเลเซียออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
3.5.1 สถานการณ์ความฉุกเฉินระดับสีเขียว คือ สถานการณ์ปกติ
การปฏิบัติตัว 1. ดำเนินชีวิตตามปกติ 2. ติดตามสถานการณ์โดยทั่วไป 3. เตรียมเอกสารสำคัญต่าง ๆ เช่น หนังสือเดินทาง บัตรประจำตัวประชาชน เอกสารทางการเงิน โดยหมั่นตรวจสอบให้เอกสารเดินทางมีอายุใช้งานได้อยู่เสมอ (หนังสือเดินทางมีอายุไม่ต่ำกว่า 6 เดือน) และมีวีซ่าพำนักในมาเลเซียอย่างถูกต้อง 4. แจ้งชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และช่องทางติดต่อและบุคคลในครอบครัว รวมทั้งช่องทางการติดต่อของญาติในประเทศไทยแก่เพื่อนคนไทย อาสาสมัครคนไทย หรือสถานเอกอัครราชทูตฯ 5. เตรียมการต่าง ๆ ที่เห็นว่าจำเป็น หากมีสถานการณ์ฉุกเฉิน อาทิ หมายเลขโทรศัพท์และช่องทางติดต่อของสถานเอกอัครราชทูตฯ (หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน +60 17700 4822 และเพจ Facebook "กงสุลไทยกัวลาลัมเปอร์") โรงพยาบาล สถานีตำรวจ เพื่อนคนไทย |
3.5.2 สถานการณ์ความฉุกเฉินระดับสีเหลือง คือ เริ่มมีข่าวสถานการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นแต่รัฐบาลท้องถิ่นของมาเลเซีย ยังสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ การดำเนินชีวิตโดยทั่วไปยังปกติ
การปฏิบัติตัว 1. ระมัดระวังตัว หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่ที่มีปัญหาความขัดแย้ง หรือเดินทางในยามวิกาล 2. รวบรวมสมาชิกในครอบครัวให้อยู่ในที่พัก 3. สำรองอาหาร เครื่องดื่มให้เพียงพอ 4. ติดตามข่าวสารจากสถานเอกอัครราชทูตฯ และสื่อท้องถิ่นต่าง ๆ 5. ติดต่อกับเครือข่ายคนไทย/เพื่อนคนไทย 6. เตรียมยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ให้พร้อมใช้งานเสมอ 7. ลงทะเบียนแจ้งรายชื่อและช่องทางติดต่อกับสถานอกอัครราชทูตฯ เพื่อเป็นข้อมูลให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ใช้ติดต่อแจ้งข่าวสารและให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที 8. รับฟังประกาศการเปลี่ยนแปลงระดับความฉุกเฉินจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ทั้งทางเว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตฯ สื่อออนไลน์ของสถานเอกอัครราชทูตฯ และกลุ่มอาสาสมัครคนไทยในมาเลเซียต่าง ๆ |
3.5.3 สถานการณ์ความฉุกเฉินระดับสีส้ม คือ สถานการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นเป็นระยะ มีแนวโน้มขยายวงกว้าง รัฐบาลมาเลเซียเริ่มสูญเสียความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ การดำเนินชีวิตเริ่มได้รับผลกระทบ การคมนาคมระหว่างประเทศเริ่มได้รับผลกระทบ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะแจ้งให้คนไทยที่ไม่มีความจำเป็นต้องพำนักในมาเลเซียทราบถึงช่องทางการเดินทางออกนอกประเทศ โดยใช้ช่องทางตามปกติ
การปฏิบัติตัว 1. ส่งผู้เยาว์และผู้ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษกลับประเทศไทยในขณะที่ยังสามารถใช้บริการสายการบินได้หรือมีรถโดยสารให้บริการเดินทางไปยังด่านพรมแดนทางบกระหว่างประเทศ 2. เดินทางไปยังจุดรวมพลภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่สามารถเคลื่อนย้ายไปยังจุดรวมพลได้ตามที่กำหนดให้รีบแจ้งสถานเอกอัครราชทูตฯ ทราบโดยเร็ว 3. รับฟังประกาศจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ทางโทรศัพท์ เว็บไซต์ และสื่อออนไลน์ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงระดับความฉุกเฉิน และวัน เวลาที่จะดำเนินการอพยพ 4. กรณีเกิดภัยโรคระบาดที่มีการจำกัดการเดินทางหรือภัยพิบัติที่ตัดขาดเส้นทางอพยพและไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย ขอให้คนไทยอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยหรือศูนย์พักพิงฉุกเฉินที่ทางการท้องถิ่นจัดให้ จนกว่าสถานการณ์จะปลอดภัยและสามารถเดินทางไปยังจุดรวมพลคนไทยต่อไปได้ |
3.5.4 สถานการณ์ความฉุกเฉินระดับสีแดง คือ เหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และขยายวงกว้าง เกิดสภาวะขาดแคลนอาหารและสิ่งของจำเป็น มีความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รัฐบาลท้องถิ่นไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ การดำเนินชีวิตได้รับผลกระทบมากขึ้น การคมนาคมระหว่างประเทศไม่สามารถดำเนินการได้หรือทำได้ในขอบเขตที่จำกัด สถานเอกอัครราชทูตฯ จำเป็นจะต้องอพยพคนไทยออกจากมาเลเซียให้มากที่สุด และเร็วที่สุด
การปฏิบัติตัว 1. เคลื่อนย้ายออกจากจุดรวมพลไปยังพื้นที่อพยพ เพื่อรอการอพยพทั้งโดยทางเครื่องบิน หรือทางด่านพรมแดน โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ จะแจ้งให้ทราบขั้นตอนโดยละเอียดตามสถานการณ์ |
4. ขั้นตอนหลังเหตุการณ์ฉุกเฉิน
4.1 การแจ้งสถานะ: เมื่ออยู่ในพื้นที่ปลอดภัยแล้ว ขอความกรุณาแจ้งสถานเอกอัครราชทูตฯ และครอบครัวของท่านทราบถึงสถานะความปลอดภัย
4.2 การช่วยเหลือในการฟื้นฟู: สามารถแจ้งสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อขอรับความช่วยเหลือ เช่น ขอออกเอกสารประจำตัวทดแทนที่ชำรุด หรือสูญหาย และการประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่นในมาเลเซียที่เกี่ยวข้อง
*************************************************
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ตุลาคม 2567
วันและเวลาทำการ (วันจันทร์ - วันศุกร์)
เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๓.๐๐ น. และ ๑๔.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.
บริการฝ่ายกงสุล (วันจันทร์ - วันศุกร์)
เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๒.๓๐ น. และ ๑๔.๓๐ - ๑๖.๓๐ น.
วันหยุดราชการ (คลิก)